Safflower-Carthami Flos

ดอกคำฝอย
红花
(หงฮฺวา-Hong Hua)

ชื่อเครื่องยา

ชื่อเครื่องยา (ไทย)

:

ดอกคำฝอย

ชื่อเครื่องยา (จีน)

:

หงฮฺวา(红花 Hóng Huā)

ชื่อเครื่องยา (ละติน)

:

Carthami Flos

ชื่อพืช (ไทย)

:

คำฝอย

ชื่อพืช (จีน)

:

หงฮฺวา(红花 Hóng Huā)

ชื่อพืช (อังกฤษ)

:

Safflower

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ชื่อพฤษศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์

:

Carthamus tinctorius L.

วงศ์

:

ASTERACEAE

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

:

ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ปลายใบเป็นหนามแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ช่อดอกออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบดอกขณะเป็นดอกอ่อนมีสีเหลือง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ผลแห้ง ไม่แตก รูปไข่กลับ เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก สีขาว

เอกสารอ้างอิง

(1) บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เรื่อง เครื่องดื่มเจียวกู่หลาน ดอกคำฝอย ใบหญ้าหวาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สืบค้นจาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/386/เครื่องดื่มเจียวกู่หลานดอกคำฝอยใบหญ้าหวาน/

(2) เมดไทย สืบค้นจาก https://medthai.com/ดอกคำฝอย/

ภาพลักษณะทางพฤษศาสตร์

:

ลักษณะทางภายนอกของเครื่องยา

ลักษณะภายนอก

:

คำอธิบายลักษณะภายนอก

1. ลักษณะภายนอกที่1

:

2. ลักษณะภายนอกที่2

:

ภาพลักษณะภายนอก

:

สรรพคุณ

สรรพคุณ (ไทย)

  • คำฝอยมีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง มีการกระจายการปลูกออกไปสู่ทวีปยุโรป อเมริกา เอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย ประเทศไทยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย
  • เป็นพืชอายุสั้นที่มีดอกออกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอก ช่อดอกอยู่ที่ปลายกิ่ง ดอกอ่อนมีสีเหลืองและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม พอแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
  • คำฝอยเป็นพืชที่ได้จากการเพาะปลูกเท่านั้น เพาะปลูกในฤดูแล้งที่มีความชื้นในดินพอควร ประมาณเดือนตุลาคม – มกราคม
  • วิธีการเพาะปลูกมี 2 วิธี
    • 1) ปลูกแบบหยอดหลุม โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1.5-2 กก. ต่อไร่ ขุดหลุมลึก 3-5 ซม. ปลูกหลุมละ 1-2 ต้น เว้นระยะห่างระหว่างต้น 30-40 ซม. ระยะห่างระหว่างแถว 60-70 ซม. ถ้าต้องการให้ต้นคำฝอยแตกเป็นกิ่งพุ่ม ควรถอนให้เหลือหลุมละ 1 ต้น และถ้าต้องการให้ต้นสูงเพื่อสะดวกในการจับตัดโคนต้น ควรปลูกหลุมละ 2 ต้น
    • 2) ปลูกแบบหว่านเมล็ดเป็นแถว ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 24-32 กก. ต่อไร่ โดยเตรียมดินเป็นร่องเล็กๆ ลึกประมาณ 5 ซม. เป็นแถวๆ เพื่อโรยเมล็ด ระยะห่างระหว่างแถว 45-60 ซม.
  • ดอกย่อยคำฝอย ตากบนภาชนะที่สะอาด และใช้ผ้าขาวบางคลุมด้านบน วางให้สูงจากพื้นดินประมาณ 60 ซม. เพื่อป้องกันฝุ่นละออง ผึ่งลมจนแห้ง ใช้เวลา 2-3 วันเพื่อให้แห้งสนิท ความชื้นไม่เกินร้อยละ 11 เก็บในภาชนะที่แห้งสนิทปราศจากแสง
  • ดอก รสขมหวาน ขับระดู บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ตกเลือด แก้ดีพิการ ขับเหงื่อ ระงับประสาท แก้ไข้ในเด็ก แก้ดีซ่าน แก้ไขข้ออักเสบ แก้หวัด น้ำมูกไหล แก้โรคฮิสทีเรีย รักษาอาการบวม รักษาท้องเป็นเถาดาน ใช้เป็นยาระบาย รักษาอาการไข้หลังคลอด ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนมาไม่เป็นปกติ เป็นยาสามัญประจำบ้าน บำรุงคนเป็นอัมพาต ต้มอาบเวลาออกหัด รักษาอาการคันตามผิวหนัง
  • เอกสารอ้างอิง
    • ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม โดยกองการประกอบโรคศิลปะสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2541 วุฒิ วุฒิธรรมเวช.
    • หลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพ: บริษัท เอ็น พี สกรีนพริ้นติ้ง จำกัด; 2542.
    • ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์, คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์. กรุงเทพ: อมรินทร์ และมูลนิธิภูมิปัญญา; 2544.
  • ดอกคำฝอยแห้งประมาณ 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเฉพาะน้ำ หรือ ใช้ดอกคำฝอย 1 หยิบมือและดอกเก๊กฮวย 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาด 500 มิลลิลิตร แล้วเคี่ยวจนงวดประมาณ 30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชาครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว วันละ 2-3 ครั้ง
  • การรับประทานอย่างต่อเนื่องหรือปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ประจำเดือนมากกว่าปกติ ทำให้โลหิตจาง มีเลือดน้อยลง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะ หรือมีผดผื่นคันขึ้นตามตัว กลายเป็นคนขี้โรค
  • ควรระวังการใช้ดอกคำฝอยร่วมกับยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (anticoagulant) สตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภค เนื่องจากดอกคำฝอยมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงเลือดและช่วยขับประจำเดือน หากรับประทานหรือรับประทานปริมาณมากจะทำให้แท้งบุตรได้

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมี

ภาพองค์ประกอบทางเคมี 1

ภาพองค์ประกอบทางเคมี 1

ภาพองค์ประกอบทางเคมี 2

ภาพองค์ประกอบทางเคมี 2

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยา

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

:

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

พิษวิทยา

:

พิษวิทยา

Views: 735
Scroll to Top