จีนให้ความสำคัญกับการแพทย์แผนจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้การแพทย์แผนจีนเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เช่น การวางแผนพัฒนาการแพทย์แผนจีนในระยะยาว และการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาสมุนไพรจีนให้มีคุณภาพสูงขึ้นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญคือการปรับปรุงคุณภาพของสมุนไพรจีน นักวิทยาศาสตร์จีนได้พยายามปรับปรุงพันธุ์สมุนไพรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังส่งเสริมการปลูกสมุนไพรแบบธรรมชาติเพื่อให้ได้สมุนไพรที่มีคุณภาพดีที่สุดตลาดยาสมุนไพรจีนก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นจาก 661 ล้านหยวน เป็น 885 ล้านหยวน หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.78% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนให้ความสนใจและหันมาใช้ยาสมุนไพรจีนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลสุขภาพด้วยวิธีธรรมชาติสมุนไพรจีนมีบทบาทสำคัญในชีวิตคนจีนมาช้านาน สมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณแตกต่างกันไป ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรค และปรับสมดุลภายในร่างกายได้หลากหลาย
ดังนั้นการแพทย์แผนจีนกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วโลก และจีนเองก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพของสมุนไพรจีน และการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น
ชาวจีนมีความเชื่อมโยงกับสมุนไพรมาอย่างยาวนาน และปัจจุบันก็ยังคงให้ความสำคัญกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ทั้งการรักษาโรค บำรุงร่างกาย และเสริมความงาม นอกจากนี้ พวกเขายังเปิดรับและสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรจากประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย
ปัจจัยที่ผลักดันให้ตลาดสมุนไพรในจีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่:
สมุนไพรไทยได้รับความนิยมในจีนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหาร เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารไทยที่ได้รับความนิยมในจีน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยประเภทยาหม่อง ยานวด และเครื่องสำอาง ก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคชาวจีนเช่นกัน เพราะมีราคาไม่แพง และให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ
พฤติกรรมการบริโภคสมุนไพรของชาวจีนแตกต่างกันไปตามกลุ่มอายุ:
ทั้งนี้ แรงจูงใจของการบริโภคสมุนไพรยาจีน ได้แก่ แรงจูงใจในด้านการรักษา ด้านการป้องกันโรค และด้านความงาม ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสมุนไพรยาจีน ได้แก่ ความต้องการด้านความปลอดภัยของสมุนไพรยาจีน ด้านประสิทธิภาพ และด้านความสะดวกสบายของการบริโภคสมุนพรยาจีน ซึ่งเป็นความต้องการที่เพิ่มเติมของอุตสาหกรรมการแพทย์แผนจีนที่มีความต้องสูงของผู้บริโภคที่มีต่อสมุนไพรยาจีน
ดังนั้น ตลาดสมุนไพรในจีนมีศักยภาพสูง และผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีนให้เข้าใจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม เพื่อคว้าโอกาสในการเติบโตในตลาดจีน
เป็นศูนย์การค้ายาจีนที่ใหญ่ที่สุดในจีนและทั่วโลก โดยตลาดครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 1,000 หมู่ (หรือประมาณ 416.6 ไร่) มีพื้นที่การค้า 1.2 ล้านตารางเมตร มีแผงขายยากว่า 8,000 แผง มีร้านค้ามากกว่า 2,000 ร้าน มีผู้ค้าขายสมุนไพรยาจีนกว่า 35,000 ราย มียาจีนกว่า 2,800 ชนิดและมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมมากกว่า 60,000 คนต่อวัน โดยในปี 2565 ขนาดของอุตสาหกรรมการแพทย์ยาจีนของเมืองโป๋โจวมีมูลค่าสูงถึง 166.41 พันล้านหยวน
ตลาดยาจีนอันกั๋วได้เปิดอย่างเป็นทางการใน ปี 2564 เป็นตลาดการค้าขายยาจีนขนาดใหญ่ มีการแบ่งพื้นที่แสดงสินค้าเป็น 4 ส่วน โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 3.7 หมื่นตารางเมตร มีร้านค้าประมาณ 850 ร้าน
เป็นศูนย์การค้ายาจีนที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกของจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 2,090 หมู่ (หรือประมาณ 870.8 ไร่) และมีพื้นที่สิ่งก่อสร้าง 245,000 ตารางเมตร คาดว่าเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จะมีร้านค้าประมาณ 56,000 ร้านและเป็นตลาดยาจีนที่มีระบบ จัดจำหน่ายที่ได้มาตรฐานระดับชาติ
เป็นศูนย์การค้ายาจีนที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกของจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 2,090 หมู่ (หรือประมาณ 870.8 ไร่) และมีพื้นที่สิ่งก่อสร้าง 245,000 ตารางเมตร คาดว่าเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จะมีร้านค้าประมาณ 56,000 ร้านและเป็นตลาดยาจีนที่มีระบบ จัดจำหน่ายที่ได้มาตรฐานระดับชาติ
เป็นศูนย์การค้ายาจีนที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกของจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 2,090 หมู่ (หรือประมาณ 870.8 ไร่) และมีพื้นที่สิ่งก่อสร้าง 245,000 ตารางเมตร คาดว่าเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จะมีร้านค้าประมาณ 56,000 ร้านและเป็นตลาดยาจีนที่มีระบบ จัดจำหน่ายที่ได้มาตรฐานระดับชาติ
มีพื้นที่การค้า 175 หมู่ (หรือประมาณ 9 ไร่) และมีการลงทุนทั้งหมด 6.5 พันล้านหยวนมีพื้นที่สิ่งก่อสร้าง 230,000 ตารางเมตร และ มีร้านค้าสมุนไพรยาจีนกว่า 3,000 ร้าน มีผู้ประกอบการสมุนไพรยาจีนประมาณ 2,000 ราย และมีสมุนไพรยาจีนกว่า 4,000 ชนิด
เป็นตลาดยาที่สำคัญในประเทศจีน มีร้านสมุนไพรยาจีนมากกว่า 600 ร้าน มีสมุนไพรยาจีนกว่า 1,000 ชนิด โดยมีการค้าขายทั้งการขายส่งและการขายปลีก
ตลาดสมุนไพรยาจีนในลานโจวเป็นศูนย์จำหน่ายสมุนไพรยาจีนทางออนไลน์ที่สำคัญ มีการค้าขายสมุนไพรยาจีนประมาณ 800 ชนิดที่มี ต้นกำเนิดจากทั่วประเทศ และมีมูลค่าการขายประมาณ 200 ล้านหยวนต่อปี
ตลาดมีผู้ประกอบการมากกว่า 300 ร้าน มีการค้าขายยาทั้งหมดกว่า 4,000 ชนิด เป็นตลาดยาที่สำคัญที่มีบทบาทสำคัญในการจัดจำหน่ายยาจีนในภาคตะวันออก
ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและกฎระเบียบในการนำเข้าสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ และดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายของจีน เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกมายังตลาดจีนให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ดังนี้
1) ผู้ประกอบการผลิตสมุนไพรในต่างประเทศจะต้องดำเนินการจดทะเบียนในศุลกากรกลางจีน
2) ศุลกากรจีนดำเนินการอนุมัติการกักกันสำหรับสมุนไพรที่นำเข้า (วัสดุสมุนไพรที่มาจากสัตว์และวัสดุสมุนไพรที่มาจากพืช) สมุนไพรที่ต้องการส่งออกมายังประเทศจีน จะต้องได้รับ “ใบอนุญาตกักกันสำหรับสัตว์และพืชที่เข้าประเทศ” ก่อน ทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าลงนามในสัญญา
3) เมื่อสมุนไพรเข้าสู่ประเทศจีน ผู้ประกอบการควรประกาศและรายงานวัตถุประสงค์การใช้งานของสมุนไพรให้ศุลกากร โดยระบุว่าเป็น “ยา” หรือ “อาหาร” เมื่อสมุนไพรที่รายงานว่าเป็น “ยา” จะควรเป็นสมุนไพรที่ถูกระบุไว้อยู่ในรายชื่อสมุนไพรรวมของสาธารณรัฐจีน และศุลกากรจีนจะดำเนินการกักกันและควบคุมตาม “มาตรการสำหรับการกำกับและการบริหารยาจีนที่เข้าและออก” สำหรับสมุนไพรที่รายงานว่าเป็น “อาหาร” ควรเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้ที่ต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย ระเบียบของประเทศจีน ศุลกากรจีนจะดำเนินการกักกันและควบคุมตามระเบียบเกี่ยวกับอาหารการนำเข้าและส่งออก
กฎระเบียบสําหรับเอกสารการนำเข้าสมุนไพรยาจีน
ผู้นำเข้าหรือตัวแทนจะต้องแจ้งต่อศุลกากร ก่อนหรือในขณะที่นําเข้ายาสมุนไพรจีน และจะต้องจัดเตรียมสัญญาการค้า / Bill of Lading / Packing List / INVOICE ฯลฯ และแนบเอกสารดังต่อไปนี้
1) ใบรับรองการตรวจสอบและกักกันอย่างเป็นทางการ ที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออก
2) หนังสือรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า และ
3) เอกสารอื่นๆ ที่ศุลกากรต้องการ