Galangal-Alpinia galanga rhizoma

กานพลู
丁香
(Dīng Xiāng - ติงเซียง)

ชื่อเครื่องยา

ชื่อเครื่องยา (ไทย)

:

กานพลู

ชื่อเครื่องยา (จีน)

:

ติงเซียง(丁香 Dīng Xiāng)

ชื่อเครื่องยา (ละติน)

:

Caryophlli flos

ชื่อพืช (ไทย)

:

กานพลู

ชื่อพืช (จีน)

:

ติงเซียง(丁香 Dīng Xiāng)

ชื่อพืช (อังกฤษ)

:

Clove

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ชื่อพฤษศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์

:

Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry
(ชื่อพ้องพฤกษศาสตร์ Eugenia caryophyllata Thunb. )

วงศ์

:

MYRTACEAE

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

:

ไม้ต้น ขนาดเล็ก สูง 9-12 ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกสั้นมาก กลีบดอก 4 กลีบ สีเขียวอมแดงเลือดหมู หรือสีขาวอมเขียว มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย ผล รูปไข่กลับแกมรูปรี สีน้ำตาลเข้ม มี 1 เมล็ด

เอกสารอ้างอิง

(1) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สืบค้นจาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_18.htm

(2) ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สืบค้นจาก http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=313

ภาพลักษณะทางพฤษศาสตร์

:

ลักษณะทางภายนอกของเครื่องยา

ลักษณะภายนอก

:

คำอธิบายลักษณะภายนอก

1. ดอกแห้ง

:

รูปรางคล้ายไม้ตีพริก ความยาวประมาณ 1-2cm กลีบดอกมีลักษณะเป็นทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3-0.5cm มี4กลีบ เรียงชิดกัน มีสีน้ำตาลหรือสีเหลืองอมน้ำตาล

ภาพลักษณะภายนอก

:

สรรพคุณ

สรรพคุณ (ไทย)

  • กานพลูเป็นพืชพื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ (Molucca) ประเทศอินโดนีเซีย นำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ประเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย มีปลูกมากที่จังหวัดจันทบุรีและชุมพร ชอบขึ้นในที่ดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นราบตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 900 เมตร นิยมปลูกฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม
  • กานพลูส่วนใหญ่ออกดอกเดือนสิงหาคม – กันยายน ดอกพร้อมจะเก็บ ประมาณ 6 – 8 เดือน หลังจากเริ่มแตกช่อดอก การเก็บเกี่ยวต้องอาศัยแรงงานคน โดยใช้ความชำนาญ เพราะดอกกานพลูจะแก่ไม่พร้อมกัน หลังจากการเก็บดอกกานพลู มีการตัดแยกดอกกานพลู โดยแยกดอกตูม ดอกบาน และสิ่งปลอมปน มีทั้งก้านดอกเสียออกจากกัน และนำดอกตูมทั้งมีคุณภาพดีไปตากแห้ง 2 – 3 วัน แล้วนำไปอบให้แห้งสนิทอีกครั้ง เมื่อดอกกานพลูแห้งแล้ว บรรจุใสถุงไว้ในห้องอุณหภูมิปกติ ไม่ควรเก็บนานเกิน 1 ปี เพราะจะสูญเสียสีและกลิ่นที่ต้องการไป
  • ดอกตูมแห้ง มีกลิ่นนหอมเฉพาะ รสเผ็ดร้อน และชา แก้ปวดท้อง จุกเสียด กระจายเสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน ดับกลิ่นปาก แก้หืด เป็นยาทำให้ร้อนเมื่อถูกผิวหนังทำให้ชา เป็นยาฆ่าเชื้อ แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปวดท้อง มวนในลำไส้ แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษโลหิต พิษน้ำเหลือง ขับน้ำคาวปลา ทำอุจจาระให้ปกติ แก้ธาตุทั้ง 4 พิการ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แก้ท้องเสีย ขับผายลม กดลมให้ลงสู่เบื้องต่ำ แก้สะอึก แก้ซางต่างๆ ขับระดู
  • น้ำมันกานพลู (Clove oil) เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน โดยใช้สำสีชุบนำมาอุดที่ฟัน ระงับการกระตุก ตะคริว ขับผายลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด ผสมยากลั้วคอ แต่งกลิ่นอาหาร แต่กลิ่นสบู่ ยาสีฟัน ดับกลิ่นปาก ดับกลิ่นเหล้า ไล่ยุง
  • ตำรายาไทยใช้กานพลูในหลายตำรับ ตัวอย่างเช่น พิกัดตรีพิษจักร สรรพคุณแก้ลม แก้พิษเลือด แก้ธาตุพิการ บำรุงโลหิต, พิกัดตรีคันธวาต สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ แก้ไข้อันเกิดแต่ดี แก้จุกเสียด
  • เอกสารอ้างอิง
    • ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม โดยกองการประกอบโรคศิลปะสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2541
    • วุฒิ วุฒิธรรมเวช. หลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพ: บริษัท เอ็น พี สกรีนพริ้นติ้ง จำกัด; 2542.
    • ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์, คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์. กรุงเทพ: อมรินทร์ และมูลนิธิภูมิปัญญา; 2544. https://apps.phar.ubu.ac.th/thaicrudedrug/main.php?action=viewpage&pid=18
  1. แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม ผู้ใหญ่ ใช้ดอกตูม 4-6 ดอก ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ดอกแห้ง 5-8 ดอก ต้มน้ำพอเดือด ดื่มแต่น้ำ ถ้าเป็นผงใช้ประมาณ 0.12-0.6 กรัม ชงน้ำดื่ม เด็กอ่อน ใช้ดอกแห้ง 1 ดอก ทุบแช่ไว้ในน้ำเดือด 1 กระติก (ความจุราวครึ่งลิตร) สำหรับชงนมใส่ขวดให้เด็กดูด แก้ท้องอืด
  2. แก้ปวดฟัน ใช้น้ำมันดอกดอกกานพลู 4-5 หยด หยดลงบนสำลี อุดรูที่ปวดฟัน และใช้แก้โรครำมะนาด หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้ม หรืออุดที่รูปวดฟัน
  3. ระงับกลิ่นปาก ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก ช่วยทำให้ระงับกลิ่นปาก

สรรพคุณ (จีน)

  • เก็บก้านออกให้เรียบร้อย ร่อนเอาฝุ่นผงออก ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปตากแดดหรืออบให้แห้ง
  • ช่วยอุ่นกระเพาะและม้ามลดอาการคลื่นไส้ บำรุงไตหยาง
  • ระคายเคืองเยื่อบุลำไส้ อาจมีอาการร้อนใน คลื่นไส้อาเจียน ระบบหายใจและเส้นประสาทส่วนล่าง อาจส่งผลต่อการทำงานของตับเป็นต้น
  • ไม่ควรใช้ยานี้เกินขนาด ไม่ควรใช้ร่วมกับ 郁金 ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่ร่างกายมีความร้อนหรือยินพร่อง ไม่ควรใช้ในผู้ที่แพ้สมุนไพรนี้ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับหรือการทำงานของตับมีปัญหามีป

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมี

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยา

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

:

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

พิษวิทยา

:

พิษวิทยา

Views: 1,035
Scroll to Top