Galangal-Alpinia galanga rhizoma

ข่า (เหง้า)
大高良姜
(Dà Gāo Liáng Jiāng - ต้าเกาเหลียงเจียง)

ชื่อเครื่องยา

ชื่อเครื่องยา (ไทย)

:

ข่า (เหง้า)

ชื่อเครื่องยา (จีน)

:

ต้าเกาเหลียงเจียง(大高良姜 Dà Gāo Liáng Jiāng)

ชื่อเครื่องยา (ละติน)

:

Alpinia galanga rhizoma

ชื่อพืช (ไทย)

:

ข่า

ชื่อพืช (จีน)

:

ต้าเกาเหลียงเจียง(大高良姜 Dà Gāo Liáng Jiāng)

ชื่อพืช (อังกฤษ)

:

Galangal

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ชื่อพฤษศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์

:

Alpinia galanga (L.) Willd.

วงศ์

:

ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

:

ไม้ล้มลุก เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ช่อดอกออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุด มีริ้วสีแดง ผลแห้ง แตกได้ ทรงกลม

ภาพลักษณะทางพฤษศาสตร์

:

ลักษณะทางภายนอกของเครื่องยา

ลักษณะภายนอก

:

คำอธิบายลักษณะภายนอก

ต้าเกาเหลียงเจียง
大高良姜
Dà Gāo Liáng Jiāng

:

เป็นแผ่นหนาลักษณะวงรีหรือลักษณะไม่ชัดเจน ขอบสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลออกเหลือง ผิวเรียบมันหรือมีรอยเล็กน้อย บางครั้งพบเส้นหยักสีกากีอ่อนกับเกล็ดกลมที่เป็นร่องรอยที่เหลือของราก ผิวหน้าตัดสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอ่อนอมน้ำตาล เนื้อแข็งแต่เปราะ หักง่าย ผิวหน้ารอยหักแสดงลักษณะเส้นใยร่วมกับฝุ่น กลิ่มหอมเล็กน้อย รสเผ็ดฉุนเล็กน้อย

ภาพลักษณะภายนอก

:

สรรพคุณ

สรรพคุณ (ไทย)

  • เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น และเพาะปลูกมากทางด้านตะวันออกและใต้ของประเทศ
  • เหง้า ใช้ได้ทั้งสดและแห้ง
  • เหง้ามีกลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ปรุงเป็นยากินแก้ปวดตามข้อ โรคหลอดลมอักเสบ ขับลมในลำไส้ แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บิด เป็นยาระบายอ่อนๆ สตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ กินเป็นยาขับลม ขับเลือดเสีย เลือดเน่า ที่ตกค้างอยู่ในมดลูก ใช้ภายนอกลดอาการบวม ฟกช้ำ แก้กลากเกลื้อน แก้ลมพิษ

เอกสารอ้างอิง ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. กรุงเทพ: อัมรินทร์ และมูลนิธิภูมิปัญญา, 2544.

  •  สตรีหลังคลอดบุตร ใช้เหง้าโขลกเอาแต่น้ำ ผสมน้ำส้ม มะขามเปียก เกลือเล็กน้อย น้ำคั้นจากเหง้าทาแก้กลากเกลื้อน น้ำคั้นจากเหง้าผสมเหล้าโรงทางแก้ลมพิษ

สรรพคุณ (จีน)

  • แหล่งเพาะปลูกหลักอยู่ที่มณฑลกว่างซี กว่างตง ไห่หนาน อวิ๋นหนาน และซื่อชวน
  • นำวัตถุดิบยากำจัดสิ่งปนเปื้อน ล้างสะอาด แช่น้ำให้ฉ่ำทั่ว หั่นเป็นแผ่นหนา ตากแห้ง ร่อนเศษฝุ่นผงออก ใส่ในภาชนะแห้ง ปิดผนึก วางเก็บในที่แห้งเย็นพ้นแดด
  • เพิ่มความอุ่นร้อนให้กระเพาะอาหาร ขับกระจายความเย็น กระตุ้นการไหลเวียนของลมปราณ ระงับปวด ใช้รักษาอาการปวดท้องและกระเพาะอาหารจากความเย็น อาเจียนและท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ(温胃、散寒、行气、止痛。主治胃脘冷痛,伤食吐泻。)
  • ผู้ที่กระเพาะอาหารร้อน ห้ามใช้ (胃热者忌服。)

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมี

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยา

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

:

ทางธุรกิจ

มูลค่าทางเศรษฐกิจ

:

มูลค่าทางเศรษฐกิจ

ความต้องการของตลาดโลกและการค้าระหว่างประเทศ

:

ความต้องการของตลาดโลกและการค้าระหว่างประเทศ

แนวโน้มความต้องการและโอกาสทางเศรษฐกิจ

:

แนวโน้มความต้องการและโอกาสทางเศรษฐกิจ

Image by jcomp on Freepik
Views: 449
Scroll to Top